พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า

พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า Rama 9 Museum

วันนี้เจ้าทรัพย์กับเพื่อนมาพิพิธภัณฑ์พระรามเก้า  ในช่วงเปิดทดลองระบบ แต่ในช่วงนี้ใครๆคิดจะไปก็เข้าไม่ได้นะคะ เพราะต้องลงทะเบียนออนไลน์ในเว็บไซต์ของ อพวช.ก่อน ล่วงหน้า 3 วันค่ะ และรับจำนวนจำกัดในการเข้าชมด้วยค่ะ และจะเปิดอย่างเป็นทางการในช่วงปลายปีนี้ค่ะ

มาถึงแล้ว ด้านหน้าอาคาร พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า

แผนผังแต่ละชั้น มีอะไรน่าสนใจบ้าง

โถงบริเวณด้านหน้า กว้างขวางใหญ่โตมากค่ะ

เมื่อเราลงทะเบียนออนไลน์แล้ว เมื่อมาถึง ก็มาแจ้งรายชื่อกับเจ้าหน้าที่ เพื่อรับสติ๊กเกอร์ติดเสื้อค่ะ และเป็นจุดจำหน่ายบัตรค่ะ

เด็กๆพร้อมแล้วค่ะ เดิน เรียนรู้กันได้เลยค่ะ

พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า

จริงๆแล้ว องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) เปิดให้บริการพิพิธภัณฑ์ด้านวิทยาศาสตร์และธรรมชาติวิทยาที่ทันสมัย ระดับมาตรฐานสากล
ประกอบไปด้วย 1.พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์  2.พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา 3.พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ 4.จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. กรุงเทพฯ (จามจุรีสแควร์) และ 5. พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า (ล่าสุด)

พิพิธภัณฑ์พระรามเก้านี้จะเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านนิเวศวิทยาของคนไทยและผู้สนใจจากทั่วโลก โดยภายในพิพิธภัณฑ์

ประกอบไปด้วย 3 โซนหลักๆ คือ บ้านของเรา ( Our Home) ชีวิตของเรา (Our Life) และ ในหลวงของเรา (Our King)

โซนบ้านของเรา

โซนชีวิตของเรา

โซนในหลวงของเรา

บ้านของเรา ( Our Home) ก็จะมี 5 โซนหลักๆ คือ
1. Bag Bang : สรรพชีวิตบนโลกเป็นผลสืบเนื่องมาจากการระเบิดครั้งใหญ่ หรือ Bag Bang ซึ่งก่อให้เกิดจักรวาลระบบสุริยะ และโลกของเรา
2. Shelter : กว่าโลกจะกลายมาเป็น "บ้าน" ที่เหมาะสมของสิ่งมีชีวิตนั้นได้ผ่านวิวัฒนาการมาอย่างยาวนาน เกืดปรากฎการณ์ต่างๆมากมาย
3. Life : ชีวิตบนโลกเริ่มต้นขึ้นจากการเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ต่อมาอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมส่งผลให้สิ่งมีชีวิตปรับตัวจนมีรูปแบบที่ซับซ้อนขึ้นและถ่านทอดลักษณะต่างๆ สู่ลูกหลานผ่านทางดีเอ็นเอ
4. Evolution and Mass Extinction : สิ่งมีชีวิตต้องพยายามปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดได้ โดยสะท้อนให้เห็นผ่านทางรูปแบบของวิวัฒนาการ
5. Human Odyssey : ในห้วงเวลาแห่งวิวัฒนาการอันยาวนานของสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์มนุษย์ได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อใด มีชีวิตและความเป็นอยู่อย่างไร

พอเดินเข้ามาก็จะมีเจ้าหน้าที่คอยประกาศรอบการฉายภาพยนต์ Big Bang ในโดมค่ะ

เจ้าทรัพย์และเพื่อนดูไดโนเสาร์ขยับไปมา พร้อมเสียง ออกแนวตื่นๆ กล้าๆกลัวๆ กันเล็กน้อย

ภายในห้องฉายภาพยนต์ คนที่เข้ามาชมสามารถนั่งดู หรือจะนอนดูก็ได้ค่ะ

พอดูเสร็จ ก็ออกมาดูในโซนต่างๆ ตอนนี้เจ้าทรัพย์มาดูโซน Human Odyssey

โซนนี้จะเป็นเกี่ยวกับความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต

เด็กๆยืนดูเพลินเลยค่ะ

ในแต่ละจุดก็จะมีสื่อต่างๆที่อธิบาย และให้เด็กๆได้ค้นหาคำตอบไปด้วยค่ะ ดีงามมาก

ค้นหาความรู้ เพลินกันเลย

หลังจากที่เราได้เดินโซนบ้านของเราจนทั่วแล้ว เราก็มาในโซนชีวิตของเรานี้ต่อเลยค่ะ

ชีวิตของเรา (Our Life)
แสดงสิ่งแวดล้อมและการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตรวมถึงมนุษย์ ภายในชีวนิเวศ (Biome) ต่างๆ ได้แก่ Antarctica, Arctic, Tundra, Taiga, Desert, Temperate และ Tropical ตลอดจนอิทธิพลของมนุษย์ต่อสภาพแวดล้อมนั้นๆ ซึ่งบางกิจกรรมก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบต่อระบบนิเวศ นอกจากนี้ยังแสดงถึงเขตภูมินิเวศ (Ecoregion) ของประเทศไทยอีกด้วย
1. ANTARCTICA เป็นชีวนิเวศบริเวณขั้วโลกใต้ที่ไม่มีมนุษย์อาศัยอยู่อย่างถาวร ยกเว้นนักวิทยาศาสตร์ที่เข้าไปศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโลกและสิ่งมีชีวิต เนื่องจากมีความหนาวเย็นมาก อุณหภูมิต่ำสุดอยู่ระหว่าง -49 ถึง -89 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตามสิ่งมีชีวิตบางชนิดทั้งพืชและสัตว์ที่สามารถปรับตัวและดำรงชีวิตอยู่ได้ท่ามกลางสภาพอากาศอันรุนแรงนี้ แม้ Antarctica ไม่มีมนุษย์อาศัยถาวร แต่ผลกระทบจากพฤติกรรมของมนุษย์จากชีวนิเวศอื่นก็สร้างปัญหาให้เกิดขึ้นได้โดยเฉพาะปัญหารอยรั่วของชั้นโอโซน
2. ARCTIC เป็นชีวนิเวศที่เต็มไปด้วยน้ำแข็งและเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์ที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมแบบนี้ได้ เช่น วาฬ หมีขาว วอลรัส แมวน้ำ รวมทั้งมนุษย์ เช่น ชาวอินูอิท (Inuit) ซึ่งสร้างที่อยู่อาศัยชั่วคราวจากก้อนน้ำแข็ง เรียกว่า Igloo ปัจจุบัน Arctic เป็นพื้นที่หนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาโลกร้อน ทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำแข็งละลาย
3. TUNDRA เป็นชีวนิเวศที่มีความหนาวเย็น มีช่วงอากาศอบอุ่นสั้นมาก ประมาณ 50-60 วัน พืชส่วนใหญ่จึงเป็นพืชขนาดเล็ก เช่น หญ้า มอสส์ ดอกไม้ต่างๆ มีมนุษย์อาศัยอยู่หลายเผ่าพันธุ์ เช่น ชาว Nuatak, ชาว Yupik ซึ่งดำรงชีพโดยการเลี้ยงเรนเดียร์ ความโดดเด่นที่ไม่เหมือนชีวนิเวศเขตอื่นคือการเกิดขึ้นของฝูงยุงนับล้านตัวในช่วงฤดูร้อน
4. TAIGA ความโดดเด่นของชีวนิเวศเขตนี้ คือแนวป่าสนขนาดใหญ่ เป็นชีวนิเวศบนบกที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศแบบสุดโต่งคือมีฤดูหนาวยาวนานมีฤดูร้อนช่วงสั้นๆ เป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อปัญหาสภาพแวดล้อม เช่น ไฟป่า การบุกรุกจากแมลง เป็นต้น
5. DESERT มีสภาพภูมิอากาศแบบสุดโต่งในอีกลักษณะหนึ่ง คือเต็มไปด้วยความแห้งแล้ง สิ่งมีชีวิตต่างๆ จึงต้องมีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด เช่น อาศัยในหลุมหรือรู การเปลี่ยนใบให้เป็นหนามของต้นกระบองเพชร เป็นต้น
6. TEMPERATE ความโดดเด่นของชีวนิเวศเขตนี้ คือการมี 4 ฤดูกาล ได้แก่ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตจึงเปลี่ยนไปตามฤดูกาล ส่วนจัดแสดงนี้นำเสนอผ่าน 5 พื้นที่ ได้แก่ Central Europe, North America, South America, Australia และ East Asia
7. TROPICAL เป็นชีวนิเวศที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นในทุกลำดับความสูงของป่า แสงแดดและน้ำฝนมีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง และมีความแตกต่างกัน นำเสนอผ่าน 5 พื้นที่สำคัญ ได้แก่ Africa, Madagascar, Neotropic, Southeast Asia และ Papua New Guinea
8. THAILAND ECOSYSTEM SERVICE : SOIL ดิน เป็นทุนทางธรรมชาติที่สำคัญ ส่วนนิทรรศการนี้ จึงเป็นการสร้างความเข้าใจที่  ถูกต้องเกี่ยวกับดิน เช่น คุณสมบัติของดินที่เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ต่างๆ การบริหารจัดการดินเพื่อให้เกิดความยั่งยืน และสมดุลระหว่างมนุษย์กับทรัพยากรธรรมชาติ
9. THAILAND ECOSYSTEM SERVICE : WATER น้ำ คือต้นทุนทางธรรมชาติที่สำคัญต่อการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิต นำเสนอตั้งแต่วัฏจักรของน้ำ ในประเทศไทย การใช้ประโยชน์จากน้ำ แนวคิด และวิธีบริหารจัดการ รวมทั้งปัญหาของน้ำและวิธีการแก้ไข
10. THAILAND ECOREGION ส่วนจัดแสดงนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนจัดแสดงสำหรับการอธิบายแนวคิด และความหมายของคำว่าเขตภูมินิเวศ (Ecoregion) ซึ่งเป็นการแบ่งพื้นที่ตามความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตตามชีวภูมิศาสตร์ (Biogeography) พื้นที่อีกส่วนหนึ่งเป็นการจำลองป่าที่มีความแตกต่างกัน 4 แห่ง ได้แก่ ป่าดิบเขา, ป่าเต็งรัง, ป่าดิบชื้น และป่าพรุ สำหรับพื้นที่ด้านนอกอาคาร ทำการจำลองพื้นที่ชุ่มน้ำซึ่งเป็นระบบนิเวศดั้งเดิมของทุ่งรังสิต

เราเดินมาถึงโซนแรก แอนตาร์กติกา

ทางเดินลงมาชั้นล่าง ทุกพื้นที่ตารางนิ้ว มีสื่อ และภาพเคลื่อนไหว อยู่ตลอดเวลา สวยดีค่ะ

เดินมาถึงโซนทะเลทราย

เจ้าทรัพย์กำลังดูพายุทะเลทรายอยู่ครับ

มุมนี้เด็กสนใจมาถ่ายรูปเยอะมากค่ะ

เจ้าทรัพย์กับเพื่อนมาสวมใส่ชุดคนป่า ลายพรางให้เข้ากับผืนป่าธรรมชาติ จะอยู่กันได้มั้ยเนี่ย

ตรงจุดนี้จะมีภาพเคลื่อนไหวลีเมอร์น้อย ห้ามพลาดค่ะ

ตกปลาครับผม

เจ้าทรัพย์สนใจมากมาย ชอบมากครับ

กำลังถ่ายภาพหมี และฝูงปลาแซลมอนครับ

แวะตรงจุดต้นไม้โอ๊คยักษ์นานมากค่ะ เล่นสไลเดอร์กับเพื่อนหลายรอบมากค่ะ

ชมพรรณไม้จากผืนป่าเมืองไทย จำลองน้ำตกสัมผัสบรรยากาศธรรมชาติเหมือนจริงค่ะ

เจ้าทรัพย์สนใจพิเศษ

จุดชมวิวมุมสูงจากน้ำตกจำลอง

เดินชมน้ำตกเสร็จ ก็เข้ามาในถ้ำ ดูปลาในถ้ำ ครับ

ต่อมาเป็นโซนสุดท้ายแล้วครับ แต่พอเข้ามาโซนนี้หม่ามี้และเจ้าทรัพย์ก็คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ 9 ขึ้นมาทันทีเลยค่ะ

ในหลวงของเรา (Our King)
หอเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระมหากษัตริย์นักพัฒนา

บริเวณพื้นที่จัดแสดงส่วนนี้ เป็นแหล่งเรียนรู้หลักการคิด วิธีทรงงาน และกระบวนการค้นหาคำตอบตามกระบวนการวิทยาศาสตร์ ผสมผสานกับองค์ความรู้เรื่องระบบนิเวศ ของในหลวงรัชกาลที่9 ที่ทรงนำไปแก้ปัญหา พระราชทานแก่พสกนิกรในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศไทย

ในหลวงรัชกาลที่9 ทรงเป็นแบบอย่างที่ดีของนักวิทยาศาสตร์ ทรงมีวิธีคิด วิเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นเป็นตอนทรงมองเห็นความสัมพันธ์ของทั้งระบบในองค์รวม เมื่อรวมเข้ากับหลักการบริหารจัดการ จึงนำมาสู่โครงการพระราชดำริ ทฤษฎี หลักคิด หลักปรัชญา ที่พระราชทานเป็นแนวทางในการดำรงอยู่ของมนุษย์กับโลกใบนี้อย่างยั่งยืน

เข้ามาเจอรูปภาพแรก เจ้าทรัพย์ยกมือกราบทันทีเลยครับ

บริเวณทางเข้ามาโซนในหลวงของเรา

โซนแสดงฉายภาพยนต์ในหลวงรัชกาลที่9

จำลองห้องทรงงาน

จำลองแผนที่ที่พระองค์ทรงงานในห้องทรงงาน

เห็นรถจำได้เลย เค้ามีกระปุกออมสินอยู่ เค้าเลยเดินเข้าไปกราบรถทรงงานในหลวงรัชกาลที่ 9

กังหันน้ำชัยพัฒนา

สรุปโดยรวมแล้วในวันที่มาช่วงเปิดทดลองนั้น ถือว่าสื่อต่างๆ การจัดแสดงดีมากๆ เลยค่ะ เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดีมากอีกที่หนึ่ง ถึงแม้ระบบต่างๆยังไม่เข้าที่มากนัก

แต่คิดว่าเมื่อเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการแล้วนั้น จะพาเจ้าทรัพย์กลับมาเที่ยวชมอีกรอบแน่นอนค่ะ

ส่วนใครที่ยังไม่เคยมา หรือ ต้องการอยากทราบว่าที่นี่มีอะไรที่เป็นไฮไลท์และไม่ควรพลาดบ้าง ทางเพจรวบรวมมาให้แล้วค่ะ

HighLight เล่น เรียน รู้ ในพิพิธภัณฑ์
1. ซึมซับพระบรมราโชวาท "คำสอนของพ่อ" พอเพียง สมดุล ยั่งยืน
2. ตามรอยมนุษย์โบราณสายพันธุ์ต่างๆ ที่มีความสมบูรณ์และสมจริงที่สุดในโลก
3. ผ่านอุโมงค์ลม ความเร็ว 60 กม./ชม. ในดินแดนแอนตาร์กติกา
4. เหยียบพื้นหยุ่นของดินแดนป่าสน ในภูมินิเวศไทก้า
5. สัมผัสประสบการณ์ภาพยนตร์ 4 มิติ ชีวิตในทะเลทราย
6. ประสบการณ์ที่ไม่ควรพลาด เดินเล่นบนต้นโอ๊คยักษ์ และสัมผัสบรรยากาศใบไม้เปลี่ยนสี
7. ชมภาพเคลื่อนไหวลีเมอร์น้อยผจญภัยไปในป่าเขตร้อนกับฝูงเพื่อนสัตว์ป่านานาชนิด
8. ชมพรรณไม้จากผืนป่าเมืองไทยและสัมผัสบรรยากาศระบบนิเวศแบบต่างๆ
9. ชมภาพยนตร์ในหลวงรัชกาลที่ 9 ในบรรยากาศห้องทรงงาน

จุดถ่ายภาพ
1. สถาปัตยกรรมความสมดุลแห่งชีวิต
2. Wall of life
3. ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน และ สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส
4. วัฏจักรปลาแชลมอน
5. ต้นโอ๊คยักษ์
6. สัมผัสชีวิต ท่ามกลางทะเลทราย
7. พาเหรดหุ่นจำลองสัตว์ ในป่าเขตร้อน
8. จุดชมวิวมุมสูงจากน้ำตกจำลอง
9. รถทรงงานในความทรงจำ

ข้อมูลการเดินทาง
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)
พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า ที่ตั้ง เทคโนธานี ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
เปิดบริการวันอังคาร - วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 9.00-16.00 น.
วันเสาร์-วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 9.30-17.00 น.

(ปิดทำการทุกวันจันทร์)

GPS https://goo.gl/maps/LSxf4STh2UYgPqDh9

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 02 577 9999 ต่อ 2122, 2123

ข้อมูลอ้างอิงมาจาก  http://www.nsm.or.th/rama9-homepage.html
และ โปรชัวร์ Visitor's Guide Map พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า
 

Gallery


Our Other Articles

Youtube VDO!
PLEASE FOLLOW ME!   
 
I hope you like reading about my adventures!
PRIVACY POLICY

© DekChobTiew.com 2019